กิจกรรม 22 พฤศจิกายน 2553

1. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ลงในสมุดงานบันทึกคะแนนที่ได้




2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล พร้อมที่มาของแห่งข้อมูลลงใน Blog ของตนเอง กำหนดส่งท้ายคาบเรียนที่ 2 ดังนี้



ตอบข้อ 1. ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ของนั้น

สืบค้นข้อมูล

      ประมาณ 149 หรือ 152 ล้าน km 149คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เปงวงรี แต่ส่วนป่องของโลกจะร้อนเพราะอยู่ไกล้ดวงอาทิตย์อากาศจะร้อนมาก 152 ล้านkm เปงวงโคจรโลกเราตามปัจจุบัน อีกประมาณ 5000 ล้านปีก็จะไม่มีโลกใบนี้แล้ว เพราะดวงอาทิตย์กำลังขยายตัวและเกิดแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดาวเคราะดวงในจะถูกดวงอาทิตย์กลืนกินเข้าไป
แงๆๆๆ สงสารโลกเราจังอีก 5000 ล้านปีจะถูกดวงอาทิตยฺกลืนกิน ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์นั้นไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยแล้วมีระยะทาง 149,000,000,000 เมตร หรือ 92,600,000 ไมล์ หรือ149,000,000 กม.

ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3403179dd97cff1b&pli=1


 ตอบข้อ  3.อัตราการเย็นตัวของลาวา

สืบค้นข้อมูล

       หินละลายรูปหมอน ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปหมอน มีลักษณะที่สำคัญคือเป็นการที่ลาวาโผล่พ้นน้ำแล้วมีการเย็นตัวลง หินละลายรูปหมอนนี้จัดเป็นหินอัคนีภูเขาไฟ ซึ่งมีหลายขนาด อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้มากถึง 1 เมตร
หินละลายรูปหมอนนั้นจะเกิดในบริเวณที่มีลาวาสีเข้มถึงลาวาสีกลาง (mafic to intermediate) ปะทุขึ้นมาใต้ผิวน้ำ เช่นบริเวณที่มีจุดร้อน (hotspot) ปะทุขึ้นมา และสัมพันธ์กับขอบเขตโครงสร้างของเทือกสันเขาใต้สมุทร (mid-oceanic ridge) เมื่อมีแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรเกิดขึ้นใหม่ จะเกิดหินละลายรูปหมอนขึ้นหนามาก ซึ่งปะทุขึ้นมาตรงจุดศูนย์กลางการกระจายตัว ซึ่งเกิดจากการที่พวก dyke แทรกตัดเข้ามาในตำแหน่งที่ต่ำกว่าที่กะเปาะแมกม่า (magma chamber) หินละลายรูปหมอนเกิดขึ้นสัมพันธ์กับ sheeted dyke complex ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำดับหิน ophiolite เมื่อมีบางส่วนของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรเกยซ้อนทับแผ่นเปลือกโลกทวีป
การปรากฎของหินละลายรูปหมอนที่แก่ที่สุดในพวกหินภูเขาไฟพบที่ Isua and Barberton greenstone belts เป็นการแสดงว่าเคยมีน้ำปริมาณมหาศาลบนพื้นผิวของโลกในยุค Archean ซึ่งหินละลายรูปหมอนนี้แสดงว่ามีกิจกรรมของภูเขาไฟที่เกิดใต้น้ำในบริเวณแถบการแปรสภาพ
หินละลายรูปหมอนอาจพบร่วมกับสภาวะภูเขาไฟกึ่งธารน้ำแข็ง (Subglacial Volcanoes) ในลำดับแรกของการเกิดระเบิด ซึ่งถูกค้นพบด้วย Gabriel A. Doudine และเพื่อนๆของเขา




ตอบข้อ  3. การชนกันของเปลือกโลก

สืบค้นข้อมูล

            ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้รวมและลบล้างทฤษฎีเก่าที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของทวีปที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลที่ถูกคิดขึ้นระหว่างคริสตทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
ส่วนนอกสุดของโครงสร้างของโลกนั้นประกอบไปด้วยชั้นสองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือ
ชั้นดินแข็ง (lithosphere) ที่มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้นดินอ่อน (aethenosphere) ซึ่งแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลได้คล้ายของเหลวซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเป็นสิ่งที่เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นดินแข็งจะเลื่อนตัวอยู่บนชั้นดินอ่อน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบ่งได้เป็นสามขอบเขตด้วยกันคือ ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ โดยปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่
แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวขึ้นของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนเข้าหากัน
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81


ตอบข้อ 4. หินดินดาน

สืบค้นข้อมูล

      หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตีที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99


ตอบข้อ  2. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดีย

สืบค้นข้อมูล

     ทุกทวีปในโลก เคยเป็นแผ่นดินเดียวกันนักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกมิ ได้รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด มีรอยแยกอยู่ทั่วไปซึ่งรอยแยกเหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เปลือกโลกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น
รูป แผ่นเปลือกโลก   แสดง รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก (1 แผ่นยูเรเซีย 2 แผ่นอเมริกา 3 แผ่นแปซิฟิก 4 แผ่นออสเตรเลีย  5 แผ่นแอนตาร์กติกา  6 แผ่นแอฟริกา)
จากรูป แผ่นเปลือกโลก จะเห็นว่าเปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น ดังนี้
1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและ ทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตา ร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกด้วย เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งรองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น
ที่มา  http://mkpayap.payap.ac.th/course/myweb/continental%20drift/Continental_Drift.htm

ตอบข้อ 4. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

สืบค้นข้อมูล

แผ่นดินไหว          แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมา เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น
 
         สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
 
         การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ สาเหตุแรกเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ ส่วนสาเหตุที่สองเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหว โดยเป็นการเกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทั้งนี้ทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่ยอมรับกันในปัจจุบันมี 2 ทฤษฎีคือ
 
         ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
 
         ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ โดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน กล่าวคือ เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่งวัตถุจะขาดออกจากกันและเสีย รูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว และหลังจากนั้นวัตถุจะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม

ที่มา http://www.dmr.go.th/main.php?filename=case_eq



ตอบข้อ 4. หินตะกอน

สืบค้นข้อมูล
 
หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ

ที่มา
 



ตอบข้อ 3. ชั้นเนื้อโลก

สืบค้นข้อมูล
 
  ฐานธรณีภาค (อังกฤษ: Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร

[แก้] ลักษณะ เฉพาะ

ฐานธรณีภาคเป็นส่วนหนึ่งของชั้นหินหนืดตอนบนและวางตัวใต้ชั้นธรณีภาค นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ความร้อนและความดันทำให้ชั้นธรณีภาคมีลักษณะหลอมและมีความหนาแน่นต่ำ คลื่นไหวสะเทือนมี ความเร็วต่ำเมื่อเคลื่อนผ่านชั้นฐานธรณีภาคเมื่อเทียบกับชั้นธรณีภาค เรียกว่า บริเวณความเร็วคลื่นต่ำและความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนจะลดลงเมื่อความแข็ง แกร่งของชั้นนั้นๆ ลดลง ใต้แผ่นสมุทรซึ่งมีขนาดบางระดับชั้นฐานธรณีภาคจะอยู่ไม่ห่างจากระดับพื้นผิว และจะห่างไม่กี่กิโลเมตรเมื่ออยู่ในบริเวณเทือกเขากลางสมุทร
บริเวณส่วนบนของชั้นฐานธรณีภาคเป็นชั้นที่มีความแข็งและมีชั้นธรณีภาคซึ่งรวมไปถึงชั้นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที ด้วยสภาวะที่มีความร้อนและความดันสูงทำให้หินส่วนนี้มีความยืดหยุ่นและ สามารถเคลื่อนที่ได้ตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตรต่อปีไปจนถึงเคลื่อนได้เป็นระยะ ทางหลายพันกิโลเมตร อย่างไรก็ตามการไหลของหินหนืดเป็นลักษณะกระแสวนและมีการแผ่รังสีความร้อนออก มาจากภายในโลก สำหรับหินที่อยู่เหนือชั้นฐานธรณีภาคจะมีความยืดหยุ่น, เปราะและแตกหักซึ่งทำให้เกิดรอยเลื่อนได้ ชั้นธรณีภาคซึ่งมีความแข็งกว่าจะลอยหรือเคลื่อนที่อย่าง เชื่องช้าบนชั้นฐานธรณีภาคทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นเปลือกโลก
 

การบ้าน
สืบค้นข้อมูลเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ลิงค์