กิจกรรม 8 พ.ย. 53


ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อสอบข้อ 60 - 64 โดย save โจทย์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และนำไปลงในบทความบน Blog ของผู้เรียน
สืบค้นข้อมูล http://ithai.jp/m=pc&a=page_c_topic_detail&target_c_commu_topic_id=454

เชียงราย 7 ก.ค. - แผ่นดินไหวขนาด 4.5 ริกเตอร์ ในประเทศพม่า ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่แม่สายจังหวัดเชียงราย รู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน เพราะอยู่ห่างเพียง 6 กิโลเมตร

หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 4.5 ริกเตอร์ กลางดึกเมื่อคืนนี้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศพม่า หรือ ละติจูดที่ 20.42 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.93 องศาตะวันออก ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สาย และ อำเภอแม่จัน ของจังหวัดเชียงราย รู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน แต่เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายในส่วนของสิ่งปลูกสร้าง โบราณสถาน หรือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประชาชนยังคงใช้ชีวิตตามปกติ




 
สืบค้นข้อมูล http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/34/page/evidence_1.html
             
            นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดของทวีปและมหาสมุทรโดยตั้งสมมติฐานว่า
ผืนแผ่นดินทั้งหมดเดิมเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (Pangea) และเนื่องจากอุณหภูมิและความดันที่อยู่ภายใต้โลกสูงมาก ทำให้แมกมาในชั้นฐานธรณีภาคเคลื่อนที่ (ตามหลักการของการพาความร้อนของสาร) และส่งผลให้ส่วนที่เป็นเปลือกโลกและเนื้อโลกตอนบนซึ่งเป็นของแข็งเกิดการแตกร้าวและเคลื่อนที่ตามไปด้วย ธรณีภาคจึงแตกออกเป็นแผ่น ๆ มีทั้งแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร และแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป ผืนแผ่นดินที่เป็นทวีปต่าง ๆ ในปัจจุบันอยู่บนแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป
    
Dr.Alfred Wegener ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียก ว่า พันเจีย(Pangaea)แปลว่าแผ่นดินทั้งหมดเมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรนเซียทางตอนเหนือ และกอนด์วานาแลนด์ทางตอนใต้ โดยทวีปทางตอนใต้จะแตกและเคลื่อนแยกจากกันเป็น อินเดีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา จนเมื่อประมาณ 65 ล้านปีที่ผ่านมา มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้นทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน ต่อมามหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างขึ้นอีก อเมริกาเหนือและยุโรปจึงแยกจากกัน อเมริกาเหนือโค้งเว้าเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเชียจนเกิดเป็นภูเขา หิมาลัย และเป็นแผ่นดิน มหาสมุทรในปัจจุบัน
    รอยต่อของแผ่นธรณีภาค เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบัน จะพบว่าทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน เมื่อนำแผ่นภาพแต่ละทวีปมาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่สามารถตั้งเป็นสมมติฐานได้ว่า ทวีปทั้งสองอาจเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันมาก่อน




ข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทย
    จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่ปรากฎในอดีตที่ผ่านมา  แนวของศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่นอกประเทศ  เช่น  บริเวณตอนใต้ของ
ประเทศจีน  พรมแดนไทย - พม่า  สหภาพพม่า  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ทะเลอันดามันและตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา
ซึ่งบริเวณเหล่านี้มักเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่อยู่เป็นประจำ  เพราะอยู่ในแนวแผ่นดินไหวของโลก  (Alpine Himalaya)  แม้ว่าจุดศูนย์
กลางแผ่นดินไหวจะค่อนข้างไกล  แต่เนื่องจากมีขนาดใหญ่จึงส่งแรงสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้าง  และส่งผลกระทบมายังประเทศไทย  เช่น
แผ่นดินไหว  เช่น  แผ่นดินไหว ขนาด 7.3  ริคเตอร์  เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  2473  ที่สหภาพพม่า เป็นต้น
    จากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนอกประเทศแล้ว  ยังมีแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเนื่องจากรอยเลื่อนในประเทศที่ยังเคลื่อนตัวอยู่  รอยเลื่อนเหล่านี้
ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศตัวอย่างเช่น  แผ่นดินไหวขนาด  5.9  ริคเตอร์  เมื่อวันที่  22  เมษายน
2526  ที่  อ.ศรสวัสดิ์  จ.กาญจนบุรี  เกิดจากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์แผ่นดินไหวขนาด  5.6  ริคเตอร์  เมื่อวันที่  17  กุมภาพันธ์  2518  ที่
อ.ท่าสองยาง  จ.ตาก  เกิดจากรอยเลื่อนเมย - อุทัยธานี  แผ่นดินไหวขนาด  5.3  ริคเตอร์  เมื่อวันที่  1  ตุลาคม  2532  ที่พรมแดน
ไทย - พม่า  เกิดจากรอยเลื่อนเชียงแสน  และแผ่นดินไหว  ขนาด  5.1  ริคเตอร์  เมื่อวันที่  11  กันยายน  2537  ที่  อ.พาน
จ.เชียงราย  เกิดจากรอยเลื่อนใน  จ.เชียงราย   เป็นต้น
    แผ่นดินไหวที่กล่าวมาข้างต้นนี้  เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดเกินกว่า  5  ริคเตอร์  ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารในบริเวณใกล้เคียง
กับศูนย์กลางแผ่นดินไหว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด  เมื่อวันที่  11  กันยายน  2537  ทำให้อาคารโรงพยาบาลพานเสียหาย
ถึงขั้นระงับการใช้อาคาร  วัดและโรงเรียนหลายแห่งเสียหายเล็กน้อยถึงปานกลาง  นับเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ทำความเสียหายแก่สิ่งก่อ
สร้างรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยปรากฎ  สำหรับขนาดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศ  ระดับ  5 - 6  ริคเตอร์  จะเกิดขึ้นประมาณ  6 - 8  ปี
ต่อครั้ง แต่แผ่นดินไหวระดับ  3 - 5  ริคเตอร์  จะรู้สึกได้โดยทั่วไปสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลาง  แต่ไม่ทำความเสียหายให้แก่อาคาร
    (แผนที่แสดงศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประเทศ  พ.ศ. 2500  -  2538)
สืบค้นข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87
             
            ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,323 เมตร วัดฐานโดยรอบได้ 150 เมตร บนยอดมีหิมะปกคลุมปีละเก้าเดือน


สืบค้นข้อมูล  http://www.chaiyatos.com/sky_lesson2.htm

ดาวที่เรามองเห็นบนฟ้าส่วนใหญ่เป็นดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์เป็นก้อนแก๊สร้อนขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น ธาตุไฮโดรเจน ดาวฤกษ์ทุกดวงมีความเหมือนกัน คือ มีพลังงานในตัวเองและเป็นแหล่งกำเนิดธาตุต่างๆ เช่น ธาตุฮีเลียม ลิเทียม เบริลเลียม ส่วน ธาตุที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่จะเกิดจากดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มากๆเท่านั้น

แม้จะมีความเหมือนกันในเรื่องดังกล่าว แต่ดาวฤกษ์ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องต่อไปนี้ คือ มวล อุณหภูมิผิวหรือสีผิวหรืออายุ องค์ประกอบทางเคมี ขนาด ระยะห่าง ความสว่างและระบบดาว รวมทั้งวิวัฒนาการ
ดาวฤกษ์ทั้งหลายเกิดจากการยุบรวมตัวของ เนบิวลา หรือกล่าวได้อีกอย่างว่าเนบิวลาเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ทุกประเภท แต่จุดจบของดาวฤกษ์จะต่างกัน ขึ้นอยู่กับมวลสาร

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีมวลสารต่างๆกัน วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆจะเป็นหลุมดมวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มาก จะกลายเป็นดาวนิวตรอน และวาระสุดท้ายดาวฤกษ์มวลสารน้อย เช่น ดวงอาทิตย์ จะกลายเป็นดาวแคระ

ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย เช่น ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างไม่มากจะใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่น้อย จึงมีชีวิตยาว และจบลงด้วยการไม่ระเบิด แต่จะกลายเป็นดาวแคระขาว สำหรับดาวฤกษ์ ที่มีมวลพอๆกับดวงอาทิตย์ จะมีช่วงชีวิตและการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกับดวงอาทิตย์

ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ มีมวลมาก สว่างมากจะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราสูงมากจึงมีช่วงชีวิตสั้นกว่า และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรง




               ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี[4]

    
         สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง[1] โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552



 
              สถานีอวกาศนานาชาติ (อังกฤษ: International Space Station; ISS) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 และมีแผนดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2011 ขณะที่การปฏิบัติการจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2015 หรืออาจเป็นไปได้ถึงปี ค.ศ. 2020[6][7] เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก[8] นับถึงปี ค.ศ. 2009 สถานีอวกาศแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในวงโคจรของโลก โดยมีมวลมากกว่าสถานีอวกาศที่เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ทั้งหมด[9] สถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องทดลองวิจัยอย่างถาวรในอวกาศ ทำการทดลองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องอาศัยการทดลองในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากๆ[10][11][12] สถานีอวกาศแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ทดสอบสำหรับระบบกระสวยอวกาศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร[13] การทดลองและการบริหารสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยคณะนักบินอวกาศซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในระยะยาว สถานีเริ่มปฏิบัติการนับแต่ลูกเรือถาวรคณะแรก คือ เอ็กซ์เพดิชั่น 1 ที่ไปถึงสถานีอวกาศตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 จนถึง 18 มีนาคม 2010 คณะลูกเรือชุด เอ็กซ์เพดิชั่น 23 อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่[14] นับรวมแล้วปฏิบัติการนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นเวลา 9 ปี[15]
ตัวสถานีอวกาศนานาชาติประกอบด้วยสถานีอวกาศในโครงการต่าง ๆ ของหลายประเทศ ซึ่งรวมไปถึง เมียร์-2 ของอดีตสหภาพโซเวียต, ฟรีดอม ของสหรัฐ, โคลัมบัส ของชาติยุโรป และ คิโบ ของญี่ปุ่น[16][17] งบประมาณจากแต่ละโครงการทำให้ต้องแยกออกเป็นโครงการย่อย ๆ หลายโครงการก่อน แล้วจึงนำไปรวมกันเป็นสถานีนานาชาติที่เสร็จสมบูรณ์ในภายหลัง[16] โครงการสถานีอวกาศนานาชาติเริ่มต้นปี ค.ศ. 1994 จากโครงการกระสวยอวกาศ เมียร์[18] โมดูลแรกของสถานีอวกาศนานาชาติคือ ซาร์ยา ถูกส่งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 โดยประเทศรัสเซีย[16] หลังจากนั้นได้มีการเชื่อมต่อกันหลายครั้งด้วยโมดูลที่ได้รับการปรับความดันอย่างซับซ้อน โครงสร้างภายนอกสถานี และองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำส่งขึ้นโดยกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา จรวดโปรตอนของรัสเซีย และจรวดโซยูสของรัสเซีย[17] นับถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2010 สถานีอวกาศมีชิ้นส่วนโมดูลปรับความดัน 13 โมดูล ติดตั้งอยู่บนโครงค้ำหลัก (Integrated Truss Structure; ITS) ระบบไฟฟ้าของสถานีมาจากแผงรับแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ 16 แผงติดตั้งอยู่บนโครงสร้างภายนอก และมีแผงขนาดเล็กกว่าอีก 4 แผงอยู่บนโมดูลของรัสเซีย[19] สถานีอวกาศนานาชาติลอยอยู่ในวงโคจรที่ความสูงระดับ 278-460 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 27,724 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โคจรรอบโลก 15.77 รอบต่อวัน[20]

สืบค้นข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8

โคลัมเบีย STS-1 พ.ศ. 2524
กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศ ทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง
กระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International.
สำหรับกระสวยอวกาศของสหภาพโซเวียต มีชื่อว่า บูราน (Buran - Бура́н แปลว่า พายุหิมะ) ปัจจุบันล้มเลิกโครงการไปแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ในสมัยประธานาธิบดีโบริส เยลท์ซิน เนื่องจากมีต้นทุนสูง และประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากปฏิบัติการเพียงหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในอวกาศเพียง 3 ชั่วโมง
กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอด
ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์
นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่
เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB ก็หมด และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักก็หยุด และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าก็ตกลงทะเลเครื่องยนต์ของจรวดสองลำก็รับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร
เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และมันก็จะออกจากการโคจรของมัน จะกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วหยุดการบินของกระสวยอวกาศก็จบลง